top of page

                       

 วิสัยทัศน์

“ เครือข่ายสุขภาพอำเภอเมืองสระแก้ว มี

ศักยภาพสูงในการบริหาร จัดการ ที่มุ่งสู่ระบบ สุขภาพอำเภอที่เข้มแข็ง

ภายใต้การมีการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนภายในปี2564 ”

 

พันธกิจ

     1. ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง และครอบครัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

     2. ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ในการบริหารจัดการระบบสุขภาพ

     3. พัฒนากลไกการบริหาร การบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุข

     4. พัฒนาสถานบริการ และจัดระบบบริการสุขภาพแบบองค์รวมให้มีคุณภาพมาตรฐาน

     5. พัฒนาสถานบริการทุกระดับสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีธรรมมาภิบาล มีความมั่นคงทางการเงินการคลัง

     ๖. ธำรงรักษา และพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสาธารณสุขทั้งในระบบ และนอกระบบ

ค่านิยมร่วม

         MUEANG ประกอบด้วย

         M: Moral = มีคุณธรรม จริยธรรม

         U: Universe = มีความรอบรู้ในหน้าที่ อาชีพการงาน

         E: Empowerment = มีความกระตือรือร้นในการทำงาน

         A: Affective = มีความสุข ร่าเริง แจ่มใส

         N: National = มีความเป็นนานาชาติรองรับ AEC

         G: Good Government = มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาล

 

ประเด็นยุทธศาสตร์

        1.  การพัฒนาสถานบริการให้ได้มาตรฐาน ส่งมอบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ

        2.  การสร้างระบบสุขภาพที่มีภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมเป็นเจ้าของ

        3.  การบริหารจัดการโรค ภัยสุขภาพ และการบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ

        4.  การบริหารจัดการบุคลากร ทรัพยากร องค์กร และข้อมูลสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

เป้าประสงค์

        1. ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เหมาะสมตามวัย อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ

        2. ลดอัตราป่วย ตาย ด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ และเข้าถึงบริการตามสิทธิขั้นพื้นฐาน

        3. มีสถานบริการได้มาตรฐาน มีธรรมมาภิบาล และศักยภาพในการบริการ บริหารจัดการระบบสุขภาพที่มุ่งสู่สุขภาวะ

        4. ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบสุขภาพ และบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุข ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        ๕. ผู้ให้บริการทุกระดับมีสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านสาธารณสุข

 

กลยุทธ์

        1. การยกระดับการจัดบริการคุณภาพตามกลุ่มวัย และเสริมสร้างทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง (Health Literacy)

        2. การพัฒนาระดับปฐมภูมิ(PCC) ตามแนวทาง Service Plan และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

        3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการป้องกัน การตอบโต้ การบริหารจัดการโรคติดต่อ (CD) โรคไม่ติดต่อ (NCD) ภัยคุกคามทางสุขภาพ และการบังคับใช้กฎหมาย

        4. การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ธรรมมาภิบาล ความมั่นคงด้านการเงินการคลัง ระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ

        5. การเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงาน และธำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรบุคคล

        6. การเสริมสร้างระบบสุขภาพ สู่พื้นที่แห่งสุขภาวะ 4 ดี วิถีพอเพียง (คนดี สุขภาพดี รายได้ดี สิ่งแวดล้อมดี) ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน

bottom of page